การนวดธาราลัย หรือการนวดไทยประยุกต์
การนวดธาราลัย หรือนวดไทยประยุกต์ คือการนวดประยุกต์โดยนำเอาข้อดีของการนวดทั้งแบบราชสำนัก และแบบเชลยศักดิ์มาผสมผสานกัน โดยปรับปรุงข้อด้อยของทั้ง 2 แบบให้ร่วมสมัย เพื่อให้เกิดประโยชน์กับผู้ถูกนวดมากที่สุด อีกทั้งยังปรับปรุงท่าทางการนวดให้มีความสุภาพมากขึ้น นำข้อดีของการนวดแบบสากลมาผสมผสาน เพื่อให้มีความเป็นสากล มีหลักวิชาการมารองรับ ทำให้ผู้นวดสามารถอธิบายหลักการนวด และระบบร่างกายได้อย่างน่าเชื่อถือ และถูกต้องมากยิ่งขึ้น อวัยวะที่ใช้ในการนวด 1 การใช้มือ 1.1 การใช้นิ้วมือ เป็นการใช้นิ้วโป้งกดลงบริเวณแนวกล้ามเนื้อ หรือใช้ปลายนิ้วในการโกยบริเวณกล้ามเนื้อ เช่น การใช้โป้งเดี่ยว โป้งคู่ โป้งต่อ โป้งทับ เป็นต้น 1.2 การใช้ฝ่ามือ เป็นการใช้กล้ามเนื้อทั้งฝ่ามือกดลงบริเวณกล้ามเนื้อ 1.3 การใช้ส้นมือ เป็นการใช้ของฝ่ามือกดลงบริเวณกล้ามเนื้อส่วนใหญ่นิยมใช้คลึงกล้ามเนื้อ 1.4 การใช้อุ้งมือ เป็นการใช้กล้ามเนื้ออุ้งของฝ่ามือลักษณะเป็นแอ่ง กดลงบริเวฯกล้ามเนื้อ 2 การใช้ศอก เป็นการใช้ศอกกดหรือคลึง บริเวณที่นิ้วกดไม่ถึง หรือจุดนั้นต้องการน้ำหนักในการกดแรงมาก 3 การใช้หัวเข่า การใช้เข่านั้น เช่นเดียวกับการใช้ศอก เช่นการกดบริเวณหน้าแข้ง ต้นขาด้านหลัง 4 การใช้ฝ่าเท้า เป็นการใช้เท้าเหยียบบริเวณที่มีกล้ามเนื้อหนาๆ เช่น ต้นขา ห้ามเหยียบบริเวณหลัง ลักษณะการนวดโดยทั่วไป 1 การกด มักใช้นิ้วหัวแม่มือกดลงที่ส่วนของร่างกาย เพื่อช่วยให้กล้ามเนท้อคลายตัวให้เลือดถูกขับออกจากเลือดบริเวณนั้น และเมื่อลดแรงกด เลือดก็จะพุ่งมาเลี้ยงบริเวณนั้นมากขึ้น ทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตทำหน้าที่ได้ดี ข้อเสียของการกด คือ ถ้ากดนานเกินไปหรือหนักเกินไป จะทำให้หลอดเลือดเป็นอันตราย เช่นทำให้ฉีดขาด เกิดรอยช้ำเขียว 2 การคลึง คือการใช้ริ้ว หรือส้นมือ ออกแรงกดให้ลึกถึงกล้ามเนื้อให้เคลื่อนไปมา หรือลักษณะวงกลม ข้อเสียของการคลึง คือ การคลึงที่รุนแรงมากอาจทำให้เส้นเลือดฉีดขาด หรือถ้าคลึงที่เส้นประสาทบางแห่ง ทำให้เกิดความเสียวแปล็บ ทำให้เส้นประสาทอักเสบได้ 3 การบีบ เป็นการจับกล้ามเนื้อมให้เต้มฝ่ามือ แล้วออกแรงบีบที่กล้ามเนื้อเป็นการเพิ่มการไหลเวียนโลหิตมายังกล้ามเนื้อการบีบยังช่วยลดอาการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ ข้อเสียของการบีบ เช่นเดียวกับการกด 4 การดึง เป็นการออกแรงเพื่อที่จะยืดเส้นเอ็น และกล้ามเนื้อ หรือพังผืดของข้อต่อที่หดสั้นเข้าไปให้ยืดออก เพื่อให่ส่วนนั้นทำหน้าที่ปกติ ข้อเสียของการดึง คือ อาจทำให้เส้นเอ็นหรือพังผืดที่ฉีดขาดอยู่แล้วขาดมากขึ้น และระวังเรื่องของข้อต่อที่มีปัญหา 5 การบิด เป็นการออกแรงเพื่อหนุนข้อต่อ หรือกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นให้ยืดออกทางด้านขวาง ข้อเสียของการบิด คือ คล้ายกับข้อเสียของการดึง 6 การดัด เป็นการออกแรงเพื่อให้ข้อต่อที่ตัดขัดเคลื่อนไหวได้ตามปกติ การดัดต้องออกแรง และค่อนข้างรุนแรง ข้อเสียของการดัด คือ อาจทำให้กล้ามเนื้อฉีดขาด การดัดที่รุนแรงอาจทำให้กระดูกหักได้ 7 การตบ การตี การทุบ หรือการสับ เป็นการออกแรงกระตุ้นที่กล้ามเนื้ออย่างเป็นจังหวะ ข้อเสียของการคบ ตี ทุบ และสับ คือทำให้กล้ามเนื้อช้ำ และบาดเจ็บได้ 8 การเหยียบ คือ การใช้ฝ่าทเ้าเหยียบบริเวณกล้ามเนื้อเป็นส่วนใหญ่ ข้อเสียของการเหยียบ คือ เป็นท่านวดที่อันตรายมาก เพราะอาจทำให้กระดูกหัก หรือทิ่งแทงอัวยวะถายใน ทำให้บาดเจ็บหรืออัมพาตได้
อ้างอิง Studio Academy โรงเรียนสอนสุขภาพ และความงาม
#นวดไทย #การนวดไทย #ข้อควรระวัง #Thaimassage |