ประวัติการแพทย์แผนไทย และการนวดไทย
สมัยกรุงสุโขทัย สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พบหลักศิลาจารึก ที่วัดป่ามะม่วง มีบันทึกเกี่ยวกับการแพทย์แผนไทย นับเป็นหลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดของการแพทย์แผนไทย สมัยกรุงศรีอยุธยา สมัยพระบรมไตรโลกนาถ พ.ศ. 1998 มีการแบ่งข้าราชการในกรมหมอนวดขวา และซ้าย สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้มีการจดบันทึกของนายลาลูแบร์ราชฑูตฝรั่งเศส ได้เขียนบันทึกจดหมายเหตุในปี พ.ศ. 2230-2231 ความว่า " ในกรุงสยามนั้นถ้าใครป่วยไข้ลง ก็จะเริ่มให้ยืดเส้นยืดสายโดยให้ผู้มีความชำนาญในทางนี้ ขึ้นไปใช้เท้าเหยียบ " สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ สมัยรัชกาลที่ 1 ร.1 ได้รวบรวมผู้รู้เกี่ยวกับการแพทย์แผนไทย ร่วมกันจารึกตำราไว้ตามศาลารายอุโบสถ และยังปั้นฤาษีดัดตนด้วยปูนปั้นจำนวน 60 ท่า สมัยรัชกาลที่ 2 ร.2 แบ่งประเภทของผู้นวดเป็น หมอหลวง และหมอเชลยศักดิ์ ซึ่งหมอหลวงคือหมอที่ชำนาญพิเศษ รับราชการอยู่ในสัดกัดราชแพทย์ มีศักดินา มีเบี้ยหวัด ส่วนหมอเชลยศักดิ์คือหมอที่ไม่ได้รับราชการ ประกอบอาชีพอิสระ ศึกษาเล่าเรียนจากบรรพบุรุษ สมัยรัชกาลที่ 3 ร.3 พ.ศ. 2375 ให้รวบรวมสรระวิชาไว้ที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม มีจารึกแผนภาพนวด 60 ภาพ บนแผ่นศิลาประดับบนผนังศาลา และรูปหล่อฤาษีดัดตน 80 ท่า พร้อมคำโคลง ( มหาวิทยาลัยแรก ) สมัยรัชกาลที่ 4 ร.4 พบหลักฐานจากทำเนียบตำแหน่งข้าราชการว่ามีราชการในกรมหมอนวด ( สมเด็จพระปื่นเกล้า ) ดังนี้ จางวางซ้าย และขวา เจ้ากรมซ้าย และขวา ศักดินา 800 ไร่ ปลัดจากวาง ปลัดกรมซ้าย และขวา ศักดินา 400 ไร่
สมัยรัชกาลที่ 5 ร.5 พ.ศ. 2413 โปรดเกล้า ฯ ให้ชำระคัมภีร์แพทย์ จัดให้เป็นตำราแผนนวดฉบับหลวงพระราชทานในปี พ.ศ. 2449 และมีการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังฤาษีดัดตน ที่ศาลโถงของวัดมัชณิมาวาส ( วัดกลาง ) จ.สงขลา จำนวน 40 ท่า ในปี พ.ศ. 2445 สมัยรัชกาลที่ 6 ร.6 กรมแพทย์หลวงถูกยุบ หมอหลวงที่เคยรับราชการอยู่ต้องออกมาประกอบวิชาชีพส่วนตัว และโปรดเกล้า ฯ ให้ตรา พรบ.การแพทย์ พ.ศ. 2466 ซึ่งเป็นกฎหมายด้านสุขภาพฉบับแรกของสยามประเทศ ระบุ " การนวด " อยู่ในนิยามของการประกอบโรคศิลปะแผนโบราณอย่างชัดเจน สมัยรัชกาลที่ 7 ร.7 มีกฏเสนาบดี พ.ศ. 2472 ระบุสาขาการนวดแผนโบราณในการประกอบโรคศิลปะโดยกำหนดให้ต่ออายุทุก 3 ปี และในปี พ.ศ. 2475 มีการก่อตั้งสมาคมแพทย์แผนโบราณแห่งประเทศไทย มีการสอนนสด ให้เวลาชั้นต้น 6 เดือน ชั้นปลาย 1 ปี 6 เดือน สัมยรัชกาลที่ 8 ร.8 ตรา พ.ร.บ. ควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2479 โดยยกเลิก พ.ร.บ. การแพทย์ 2466 และตัดสาขาการนวดในการประกอบโรคศิลปะแผนโบราณออกโดยไม่มีบทเฉพาะการ ( ไม่ควบคุมการนวดไทย ) สมัยรัชกาลที่ 9 - ปัจจุบัน 15 พ.ย. 2528 โครงการฟื้นฟูการนวดไทย ( ฟนท. ) ชูคำขวัญ " ปะทะกับยาแก้ปวดด้วยการนวดไทย " พ.ศ. 2530 กระทรวงสาธารณสุขตีความว่าการนวดไทย เพื่อบำบัดโรคเป็นการประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ สาขาเวชกรรม โดยอัตโนมัติ ไม่ต้องมีการศึกษา ต่อมาจึงกำหนดให้เรียนนวด 80 ชม. ธุรกิจการนวดเฟื่องฟู พ.ศ. 2533 โครงการฟื้นฟูการนวดไทย โดยมูลนิธิสาธรณสุข กับการพัฒนา และคณะเตรียมการก่อตั้ง สถาบันการแพทย์แผนไทย โรงเรียนการนวดไทย และสถานพยาบาล รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริม การส่งออกธุรกิจบริการนวดแผนโบราณ โครงการฟื้นฟูการนวดไทย และองค์กรภาคีสมาชิก 27 องค์กร ร่วมกันก่อตั้ง สมาพันธ์แพทย์แผนไทยแห่งประเทศไทย ( สมพท. ) พ.ศ. 2537 สมาพัธ์ ฯ ร่วมกันรณรงค์แก้กฎหมายควบคุมการประกอบโรคศิลปะ โดยเสนอให้เพิ่ม " การนวดไทย " เป็นสาขาหนึ่งของการประกอบโรคศิลปะแผนไทยเมื่อวันที่ 4 ก.ค. 2537 ปัจจุบน " การนวดไทยแบบประยุกต์ "
การนวดแผนไทย การนวดแผนไทย หรือนวดแผนโบราณ เป็นการนวดชนิดหนึ่งในแบบไทย ซึ่งเป็นศาสตร์บำบัด และรักษาโรคแขนงหนึ่งของการแพทย์แผนไทย โดยเน้นในลักษณะการยืดเส้น และการกดจุด ซึ่งรู้จักกันโดยทั่วไปในชื่อ " นวดแผนไทย " โดยมีหลักฐานว่านวดแผนไทยนั้นมีประวัติมาจากประเทศอินเดีย และมีการนำเข้ามาในประเทศไทย จากนั้นได้ถูกพัฒนา และปรับปรุงแก้ไขให้เข้ากันกับวัฒนธรรมของสังคมไทย จนเป็นรูปแบบแผนที่เป็นมาตราฐานของไทย สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน การนวดแผนไทยแบ่งออกเป็น 2 สาย คือราชสำนัก และเชลยศักดิ์ การนวดแบบราชสำนัก เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายของการนวดนี้คือ เจ้านายชั้นผู้ใหญ่ผู้มียศถาบรรดาศักดิ์ที่อยู่ในรั้วในวัง ฉะนั้นการนวดจึงถูกออกแบบที่เน้นการใช้นิ้วมือ และมือเท่านั้น และท่วงท่าที่ใช้ในการนวดมีความสุภาพเรียบร้อย มีข้อกำหนดในการเรียนมากมายผู้ที่เชี่ยวชาญทางวิชาชีพด้านนี้ จะทำงานอยู่ในรั้วในวังเป็นหมอหลวง มีเงินเดือนมียศมีตำแหน่ง การนวดแบบเชลยศักดิ์ เป็นการนวดที่ใช้ในระดับชาวบ้านด้วยท่าทางทั่วไป ไม่มีแบบแผนหรือพิธีรีตองในการนวดมากนัก อีกทั้งยังสามารถใช้อวัยวะอื่นๆ เช่น เข่า ศอก เท้า เพื่อช่วยทุ่นแรงในการนวดได้ ซึ่งเป็นข้อแตกต่างจากการนวสแบบราชสำนัก ที่เน้นการใช้มือเพียงอย่างเดียว
อ้างอิง Studio Academy โรงเรียนสอนสุขภาพ และความงาม
#นวดไทย #การนวดไทย #ข้อควรระวัง #Thaimassage |